วันอังคารที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

PROFILE


ชื่อ : ศิริรัตน์ รามรินทร์
ชั้ม : ม.4/1
เลขที่ : 41
โรงเรียน : นวมินทราชินูทิศ สตรีวิทยา พุธมณฑล
เกิด : 2 กุมภาพันธ์ 2536

สีโปรด : ชมพู ม่วง
งานอดิเรก : ฟังเพลง อ่านการ์ตูน
อีเมล์ : lo_ioda@hotmail.com

วันศุกร์ที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

ชุมนุม

:: ชุมนุมระบายสีตุ๊กตา.. ::

ที่เลือกชุมนุมนี้ก็เพราะว่า ชอบระบายสี..และ เป็นชุมนุมที่สบายๆไม่เครียดดี ก็เรียนในห้องเรียนมันก็หนักแล้ว..ก็เลยต้องหาอะไรเบาๆมาทำบ้างไง~ จะได้ผ่อนคลาย นอกจากจะระบายสีตุ๊กตาแล้วในชุมนุมของเราก็ยังมีการทำงานประดิษฐ์เล็กๆน้อยอีกด้วย ..

// ถือเป็นชุมนุมที่ดีชุมนุมหนึ่ง

วันพฤหัสบดีที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

จริยธรรมและคุณธรรมในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศร่วมกัน

เพื่อให้การอยู่ร่วมกันในสังคมอินเทอร์เน็ตสงบสุข Arlene H.Rinaldi แห่งมหาวิทยาลัย ฟอร์ริดาแอตแลนติก จึงรวบรวมกฎกติกามารยาทและวางเป็นจรรยาบรรณอินเทอร์เน็ตหรือที่เรียกว่า Netiquette ไว้ดังนี้จรรยาบรรณสำหรับผู้ใช้ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์

1.ควรมีความรับผิดชอบในการดูแลตู้จดหมาย (mail box) ของตนเองดังนี้

2.ตรวจสอบจดหมายทุกวันและจะต้องจำกัดจำนวนไฟล์และข้อมูลในตู้จดหมายของตนให้เลือกภายในโควต้า ที่กำหนด

3.ลบข้อความหรือจดหมายที่ไม่ต้องการแล้วออกจากดิสต์เพื่อลดปริมาณการใช้ดิสก็ให้จำนวนจดหมายที่อยู่ในตู้จดหมาย (mail box) มีจำนวนน้อยที่สุด

4.ให้ทำการโอนย้ายจดหมายจากระบบไปไว้ยังพีซีหรือฮาร์ดดิสก์ของตนเองเพื่อใช้อ้างอิงในภายหลัง

5.พึงระลึกเสมอว่าจดหมายที่เก็บไว้ในตู้จดหมายนี้อาจถูกผู้อื่นแอบอ่านได้ ไม่ควรเก็บข้อมูลหรือจดหมายที่คุณคิดว่าไม่ใช้แล้วเสมือนเป็นประกาศไว้ในตู้จดหมาย

จรรยาบรรณสำหรับผู้สนทนา

1.ควรเรียกสนทนาจากผู้ที่เรารู้จักและต้องการสนทนาด้วย หรือมีเรื่องสำคัญที่จะติดต่อด้วย ควรระลึกเสมอว่าการขัดจังหวะผู้อื่นที่กำลังทำงานอยู่อาจสร้างปัญหาให้ได้

2.ก่อนการเรียกคู่สนทนาควรสอบสถานะการใช้งานของคู่สนทนาที่ต้องการเรียกเพราะการเรียกแต่ละครั้งจะมีข้อความไปปรากฏบนจอภาพของฝ่ายถูกเรียกซึ่งก็สร้างปัญหาการทำงานได้ เช่น ขณะกำลังทำงานค้าง ftp ซึ่งไม่สามารถหยุดได้

3.หลังจากเรียกไปชั่วขณะคู่ที่ถูกเรียกไม่ตอบกลับ แสดงว่าคู่สนทนาอาจติดงานสำคัญ ขอให้หยุดการเรียกเพราะข้อความที่เรียกไปปรากฏบนจออย่างแน่นอนแล้ว

4.ควรให้วาจาสุภาพ และให้เกียรติซึ่งกันและกัน การแทรกอารมณ์ขัน ควรกระทำกับคนที่รู้จักคุ้นเคยแล้วเท่านั้นจรรยาบรรณสำหรับผู้ใช้กระดานข่าว

ระบบสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์

1.ให้เขียนเรื่องให้กระชับ ข้อความควรสั้นและตรงประเด็กไม่กำกวม ใช้ภาษาที่เรียบงาน สุภาพเข้าใจได้

2.ในแต่ละเรื่องที่เขียนให้ตรงโดยข้อความที่เขียนควรจะมีหัวข้อเดียวต่อเรื่อง

3.ในการเขียนพาดพิงถึงผู้อื่น ให้ระมัดระวังในการละเมิดหรือสร้างความเสียหายให้ผู้อื่น การให้อีเมล์อาจตรงประเด็นกว่า

4.ให้แหล่งที่มาของข้อความ ควรอ้างอิงแหล่งข่าวได้ ไม่เรียกว่าโคมลอยหรือข่าวลือหรือเขียนข่าวเพื่อความสนุกโดยขาดความรับผิดชอบ

5.จำกัดความยาวของข่าว และหลีกเลี่ยงตัวอักษรควบคุมพิเศษอื่น ๆ เพราะหลายเครื่องที่อ่านข่าวอาจมีปัญหาในการแสดงผล

6.ข่าวบางข่าวมีการกระจายกันมาเป็นลำดับให้ และอ้างอิงต่อ ๆ กันมาการเขียนข่าวจึงควรพิจารณาในประเด็นนี้ด้วย โดยเฉพาะอย่าส่งจดหมายตอบโต้ไปยังผู้รายงานข่าวผู้แรก

7.ไม่ควรให้เครือข่ายของมหาวิทยาลัยเพื่อประโยชน์ทางการค้าหรืองานเฉพาะของตนเพื่อประโยชน์ส่วนตนในเรื่อง การค้า

8.การเขียนข่าวทุกครั้งจะต้องลงชื่อ และลายเซนตอนล่างของข้อความเพื่อบอกชื่อ ตำแหน่งแอดเดรสที่อ้างอิงได้ทางอินเทอร์เน็ต หรือให้ที่อยู่และหมายเลขโทรศัพท์ที่ติดต่อได้

9.ในการทดสอบการส่งไม่ควรทำพร่ำเพื่อการทดสอบควรกระทำในกลุ่มข่าวท้องถิ่นที่เปิดให้ทดสอบการส่งข่าวอยู่แล้ว เพราะการส่งข่าวแต่ละครั้งจะกระจายไปทั่วโลก

10.หลีกเลี่ยงการใช้ตัวอักษรใหญ่ตัวอักษรใหญ่ที่มีความหมายถึงการตะโกนหรือการแสดงความไม่พอใจในการเน้น คำให้ใช้เครื่องหมาย * ข้อความ* แทน

11.ไม่ควรนำข้อความที่ผู้อื่นเขียนไปกระจายต่อโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของเรื่อง

12.ไม่ควรใช้ข้อความตลกขบขันหรือคำเฉพาะคำกำกวม หรือคำหยาบคายในการเขียนข่าว

13.ให้ความสำคัญในเรื่องลิขสิทธิ์ไม่ควรละเมิดลิขสิทธิ์ผู้อื่น

14.ไม่ควรคัดลอกข่าวจากที่อื่นเช่น จากหนังสือพิมพ์ทั้งหมดโดยไม่มีการสรุปย่อและเมื่อส่งข่าวย่อจะต้องอ้างอิงที่มา

15.ไม่ควรใช้กระดานข่าวเป็นที่ตอบโต้หรือละเมิดผู้อื่น

16.เมื่อต้องการใช้คำย่อ คำย่อที่เป็นที่รู้จักกันทั่วไป เช่น-IMHO-in my humble / honest opinion-FYI-for your information-BTW-by the way

17.การเขียนข้อความจะต้องไม่ใช้อารมณ์หรือความรู้สึกส่วนตัวและระลึกเสมอว่าข่าวที่เขียนหรืออภิปรายนี้กระจายไปทั่วโลก และมีผู้อ่านข่าวจำนวนมาก

18.ในการเขียนคำถามลงในกลุ่มข่าวจะต้องส่งลงในกลุ่มที่ตรงกับปัญหาที่เขียนนั้น และเมื่อจะตอบก็ต้องให้ตรงประเด็น

19.ในการบอกรับข่าวด้วย mailing list และมีข่าวเข้ามาจำนวนมากทางอีเมล์จะต้องอ่านข่าว และโอนมาไว้ที่เครื่องตน (พีซี) หรือลบออกจาก mail box และหากไม่อยู่หรือไม่ได้เปิดตู้จดหมายเกินกว่าหนึ่งสัปดาห์จะต้องส่งไปบอกยกเลิกการรับ เพื่อว่าจะได้ไม่มีจดหมายส่งเข้ามามาก

บัญญัติ 10 ประการ

1.ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์ทำร้ายหรือละเมิดผู้อื่น

2.ต้องไม่รบกวนการทำงานของผู้อื่น

3.ต้องไม่สอดแนมหรือแก้ไขเปิดดูในแฟ้มของผู้อื่น

4.ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการโจรกรรมข้อมูลข่าวสาร

5.ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์สร้างหลักฐานที่เป็นเท็จ

6.ต้องไม่คัดลอกโปรแกรมผู้อื่นที่มีลิขสิทธิ์

7.ต้องไม่ละเมิดการใช้ทรัพยากรคอมพิวเตอร์โดยที่ตนเองไม่มีสิทธิ์

8.ต้องไม่นำเอาผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตน

9.ต้องคำนึงถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นกับสังคมอันติดตามมาจากการกระทำ

10.ต้องใช้คอมพิวเตอร์โดยเคารพกฎระเบียบ กติกามารยาท

ทำไมของ1โหลต้องมี12ชิ้น


จำนวน 12 ในหนึ่งโหลของไทยนั้นสัมพันธ์กับระบบนับจำนวนของต่างชาติ ซึ่งมีคำว่า dozen (โดซเซ่น) หมายถึง 12 เช่นเดียวกัน ย้อนกลับไปหาที่มาคำว่า dozen ถือกำเนิดจากชาวสุเมเรียนในเมโสโปเตเมีย ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นชนชาติแรกที่สร้างสัญลักษณ์การนับตัวเลขในชีวิตประจำวันด้วยการเปล่งเสียงเรียก ต่อมาในช่วง 3,100 ปี ก่อนคริสตกาล ......ชาวสุเมเรียนเขียนจำนวนตัวเลขเป็นรูปลิ่ม และสร้างระบบจำนวนขึ้นมา จากฐาน 60 ซึ่งง่ายต่อการหารด้วยจำนวนต่างๆ แบ่งเป็นแฟ็กเตอร์ (ส่วนที่คูณกันขึ้นเป็นจำนวน) ได้แก่ 2, 3, 4, 5, 6, 10, 12, 15, 20, และ 30 คำว่า dozen มีความหมายมาจาก "5 ส่วนของ 60" (12 คูณ 5 เท่ากับ 60) ภาษาละตินหมายถึง 12 ขณะที่ชาวโรมันถือว่าเลข 12 เป็นเลขศักดิ์สิทธิ์ จึงนำมาสร้างระบบการนับปี แบ่งให้มี 12 เดือน ส่วนพ่อค้าแม่ขายในในสมัยโบราณก็นิยมใช้ 12 ขายของ เพราะสะดวกและแยกส่วนได้ง่ายกว่าเลข 10 และใช้เรื่อยมาจนทุกวันนี้ นอกจากนี้ยังมีเรื่องเล่าว่า ในช่วงยุคกลางของอังกฤษ พ่อค้าขนมปังจะต้องถูกลงโทษหนัก หากตัดขายขนมปังในน้ำหนักที่ต่ำกว่าความเป็นจริง ขณะที่พ่อค้าขนมปังในยุคนั้นก็ไม่ได้มีความรู้นับจำนวนอะไร กลัวจะพลาดระหว่าง 11 ก้อนกับ 12 ก้อน จึงหันไปใช้วิธีกันเหนียว คือตัดขนมปัง 13 ก้อนเวลาที่จะขายขนมปังหนึ่งโหล กรณีนี้หนึ่งโหลเลยมี 13 ชิ้น ซึ่งไม่เกิดขึ้นบ่อยนัก ส่วนนักจิตวิทยาบางคนเคยทดสอบความแตกต่างระหว่างคนที่ชอบเลข 12 มากกว่าเลข 10 ว่าเป็นคนที่ยืดหยุ่นและอ่อนโยนกว่า อันนี้ก็ฟังไว้เล่นๆ ได้ ข้อมูลจากเว็บไซต์วิกิพีเดีย ระบุว่า โหลมาจากภาษาอังกฤษว่า Dozen รากศัพท์ภาษาละตินว่า duodecim เชื่อว่าเป็นการนับเลขรวมกลุ่มแบบแรกๆ เพราะตัวเลข 12 มาจากฐานการนับรอบดวงจันทร์โคจรรอบดวงอาทิตย์ รู้จักว่าเป็นระบบจำนวนฐานสิบสอง หรือทวาทิศนิยม (duodecimal system) 12 โหลเรียกว่า 1 กุรุส (a gross) การนับโหลสะดวกสบาย เพราะตัวคูณและพหุคูณคิดได้ง่าย เช่น 12 เท่ากับ 3 X 2 X 2 หรือ 360 เท่ากับ 20 X 3